สภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น หลังพายุโซโคลนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วลมมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดถล่มรัฐยะไข่ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของเมียนมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ชาวเมียนมา เปิดเผยว่า ไซโคลนลูกนี้ได้ทำลายล้างพื้นที่ 90 % ของเมือง สายสื่อสารขาด ส่วนเสาไฟฟ้าและต้นไม้หักโค่น นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายให้กับค่ายผู้ลี้ภัยของชาวโรฮิงญาที่พลัดถิ่น ในรัฐยะไข่ด้วย

พายุไซโคลนลูกนี้ ถือเป็นหนึ่งในพายุที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษนี้ ได้เคลื่อนตัวไปยังอ่าวเบงกอล จากนั้นได้พัดถล่มเมียนมา และบังกลาเทศ ซึ่งก่อนที่พายุลูกนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ได้มีการอพยพผู้คนมากกว่า 750,000 คนออกจากหมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งมากที่สุด เพื่อรับมือกับพายุไซโคลนลูกนี้

ด้านสหประชาชาติ ระบุว่า จากสภาพอากาศที่เลวร้าย และการหยุดชะงักงันของการสื่อสาร ทำให้ยังไม่สามารถประเมินขนาดความเสียหายที่แท้จริงของภัยพิบัติธรรมชาติครั้งนี้ได้แต่จากการประเมินก่อนหน้านี้พบว่า เมียนมาเผชิญกับความเสียหายเป็นวงกว้าง จนถึงตอนนี้สื่อท้องถิ่นรายงานว่า พบผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 6 คน จากเมืองซิตตเว โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กชายวัย 14 ปี ถูกต้นไม้ล้มทับจนเสียชีวิต และบาดเจ็บอีก 13 คน

ขณะที่เมื่อวานนี้ MRTV สื่อของรัฐบาลทหารเมียนมาเผยแพร่ภาพกองทัพเมียนมากำลังเตรียมสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อลำเลียงไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามคำสั่งขอพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร

อุตุฯ คาดปีนี้แนวโน้มสูงเกิดปรากฎการณ์“เอลนีโญ” เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง

สภาพอากาศวันนี้คำพูดจาก เป๋าเงินจริงสำ! ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง เหนือหนักสุด โดนฝน 60%

จากการประเมินความเสียหายในเบื้องต้น ของกองทัพเมียนมา พบว่า หลังไซโคลนลูกนี้พัดขึ้นฝั่งเมียนมา ส่งผลทำให้อาคารมากกว่า 1,000 หลังได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่วนบ้านเรือนประชาชนกว่า 850 หลัง โรงเรียน 64 แห่ง และสถานพยาบาล 14 แห่ง รวมถึงเสาสื่อสารอีก 7 แห่งในประเทศถูกทำลาย หรือได้รับความเสียหายส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ ไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง แม้ว่าจะเกิดดินถล่ม และน้ำท่วมก็ตาม

ทั้งนี้พายุไซโคลนลูกนี้ไม่ได้พัดถล่มในค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ Cox's Bazar ในบังกลาเทศ แม้ก่อนหน้านี้ผู้คนต่างกังวล เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่เปราะบางจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากไซโคลนลูกดังกล่าวจากฝั่งบังกลาเทศ